วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู  เรื่อง เมื่อสการ์เลทเรียนเรื่องพืช

           เจน  เทอร์เนอร์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ( ทางตะวันออกของประเทศอังกฤษ )  ไปเยี่ยมโรงเรียนประถมเซนต์แมรี่  เพื่อทบทวนและอภิปรายเกี่ยวกับโครงการวิทยาศาสตร์  เรียนรู้กับสการ์เลท  เจนร่วมพูดคุยถกกันกับเวโลนิกาไนธ์ ที่สอนเรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เรากินได้ มุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับผลงานขั้นสุดท้ายและอภิปรายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของนักเรียนคนหนึ่งที่มีต่อบทเรียน  เธอเรียนรู้อย่างไร  และด้วยวิธีใด  และมันจะช่วยการสอนในอนาคตได้อย่างไรบ้าง  เจนยังให้คำแนะนำสำหรับบทเรียนวิทยาศาสตร์ในอนาคตอีกด้วย

สรุปวิจัย

วิจัย เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย 
ของศรีนวล   รัตนานันท์

          การศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตอันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษา  เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในอนุบาลชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2539  สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
        ประสบการณ์มางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยทักษะการสังเกต  ดังนี้
        1. เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นทักษะในแนวการพื้นฐานในการคิดแบบวิทยาศาสตร์
        2. เพื่อปลูกฝั่งลักษณะนิสัยเพื่อให้เป็นคนรอบคอบ
        3. เพื่อฝึกให้เด็กนำเอาประสาทสัมผัสทั้งห้า  คือ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย  มาใช้ในการสังเกต
        4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักเอาข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสังเกตมาช่วยในการแก้ปัญหา
        5. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้กว้างขวางจากการที่ได้สังเกต

สรุปบทความ

บทความ  เรื่อง ปะการังฟอกขาว

           นอกจากอุณหภูมิแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำลายแนวปะการัง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำเสียลงในทะเล  การรั่วไหลของสารเคมี  การรุกล้ำพื้นที่โดยการถมทะเลซึ่งก่อให้เกิดตะกอนไปปกคลุมปะการัง  การทำประมงโดยการใช้ระเบิดและใช้อวนลากเข้าไปในแนวปะการัง

           นั่นคือสิ่งที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องร่วมมือกันปกป้องรักษาโดยเฉพาะการช่วยกันลดปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการช่วยกันลดการใช้พลังงานลดการสร้างมลพิษต่างๆ ที่จะไปช่วยเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนยิ่งขึ้นมาเริ่มต้นจากตัวเรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือก่อนที่จะสายเกินแก้จนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 18 ( เรียนชดเชย )


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 18
วัน พุธ ที่ 29  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเรียนการสอน
        - นำเสนอการทดลอง
        - ส่งชิ้นงาน  ได้แก่  ของเล่นวิทยาศาสตร์  และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์


ของเล่นวิทยาศาสตร์  นกในกรง







สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  นักประดาน้ำ









นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์   ลูกโป่งพลังดูด




















หมายเหตุ  รายละเอียดอยู่ในสัปดาห์ที่ 6

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 17


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 17
วัน พุธ ที่ 25  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเรียนการสอน
       - อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 16


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 16
วัน พุธ ที่ 18  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเรียนการสอน
          - อาจารย์ให้เตรียมวัตถุดิบมาทำไข่ตุ๋น
          - อาจารย์ให้เพื่อนมาสอนสาธิตการทำไข่ตุ๋น

หลักการสอนการทำไข่ตุ๋น
          1. ครูให้เด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม
          2. ครูใช้คำถามกับเด็ก  เช่น
              - เด็กๆเห็นไหมว่าวันนี้ครูเตรียมอะไรมาบ้าง
              - เด็กๆคิดว่าครูจะมาทำกิจกรรมอะไรในวันนี้
              - เด็กๆคนไหนเคยทานไข่ตุ๋นบ้างค่ะ
          3. ครูแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบ
          4. ครูให้เด็กอาสาออกมาหั่น แครอท
          5. ลงมือทำไข่ตุ๋น















บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 15

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 15
วัน พุธ ที่ 15  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเรียนการสอน
          - ผู้สอนได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข Blogger
          - ทำกิจกรรมกลุ่ม  เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก

หมายเหตุ   ไม่ได้มาเรียน

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 14


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 14
วัน พุธ ที่ 11  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจทางราชการที่ต่างจังหวัด


หมายเหตุ  ได้หมอบหมายให้เตรียมรูปและเอกสารที่ไปศึกษาดูงานไว้ให้เรียบร้อย

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 13

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 13
วัน พุธ ที่ 4  กันยายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจทางราชการ

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 12

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 12
วัน พุธ ที่ 28  สิงหาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ศึกษาดูงาน  วันที่  27-28  สิงหาคม  2556

ณ  สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสีธรรมราช  และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  จ. บุรีรัมย์


สรุปความรู้ที่ได้จาก  สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสีธรรมราช


วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต ฯ
            1. เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน
            2. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย
            3. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา  วิจัย  และทดลองทฤษฎีทางการศึกษาอันจะเป็นแนวทางในการพัฒนา
            4. เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบ
            5. เพื่อให้การอบรมสำหรับกุลบุตร  กุลธิดา
            6. เพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรธิดา

สรุปความรู้ที่ได้จาก  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  จ. บุรีรัมย์

สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
         ไม่มีการสอบ
         ไม่มีเสียงระฆัง
         ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
         ไม่ต้องใช้แบบเรียน
         ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
         ไม่ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
         ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 11


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 11
วัน พุธ ที่ 21  สิงหาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ไม่มีการเรียนการสอน    เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานให้ทำดังนี้

          1. การทดลองวิทยาศาสตร์
          2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

กิจกรรมทุกชิ้นต้องมีลงใน  Blogger

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 10


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 8
วัน พุธ ที่ 14  สิงหาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเรียนการสอน
          - อาจารย์พูดถึงโครงการศึกษาดูงาน
          - อาจารย์ตรวจ  Blogger
          - อาจารย์ให้ทำการทดลองของแต่ละคนลงใน  Blogger
          - อาจารย์ให้ทดลองเรื่องใบไม้ว่าทำไมถึงลอยได้

สาเหตุที่ใบไม้ลอยได้
         - เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อวัตถุบางเบา

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 9


บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 9
วัน พุธ ที่ 7  กรกฏาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ในวันนี้ไม่มีกิจกรรมการเรียนการสอนแต่อาจารย์ให้ไปร่วมโครงการทำนุบำรุงศอลปะวัฒนธรรมโครงการ  กายงาม  ใจดี  ศรีปฐมวัย
ณ หอประชุม 2 คณะศึกษาศาสตร์
                           

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 8

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 8
วัน พุธ ที่ 31  มิถุนายน  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ในวันนี้ไม่มีกิจกรรมการเรียนการสอน  
*เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556*
                           

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 7

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 
วัน พุธ ที่ 24  กรกฎาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
       ในการสอนวันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาบทเรียนที่ผ่านมาจากการสรุปผังความคิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.  กระบวนการเบื้องต้น
     -  การวัด                  จำนวน, ปริมาณ,ตัวเลข
     -  การจำแนก          
     -  หาความสัมพันธ์    มิติ + เวลา  
     -  การคำนวน           
     -  การพยากรณ์        คือการคาดเดา  

2.  กระบวนการผสม
     -  ตั้งสมมติฐาน          คือการกำหนดประเด็นปัญหา  (การคาดเดา)
     -  ลงมือปฏิบัติ
     -  ควบคุมตัวแปร        คือการกำหนดสิ่งที่จะมีผลต่อการทดลอง
     -  การทดลอง
     -  ตีความ , สรุป

3.  วิธีการจัด
      1. จัดเป็นทางการ    
          - กำหนดจุดมุ่งหมาย
      2. จัดไม่เป็นทางการ   เช่น
          - มุมวิทยาศาสตร์ 
          - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
      3.  จัดตามเหตุการณ์
           -  ธรรมชาติ
           -  สิ่งที่พบเห็น

 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
       1.  การเลือก 
            - เหมาะสมกับหน่วย
            - เหมาะกับพัฒนาการ
            -  เวลาและสถานที่
            -  กิจกรรม
        2.  เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้


        จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาดูโทรทัศน์ครู ตอน Project  Approach  การสอนแบบโครงการปฐมวัย


เทคนิคการคิดวิเคราะห์

บทสรุป                  
         จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ






วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 6

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 6
วัน พุธ ที่ 17  กรกฎาคม  พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเรียนการสอน
*หมายเหตุ*     
    เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้
งานที่อาจาร์ยมอบหมาย
   อาจาร์ยให้นักศึกษาโพส สื่อ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาคิดลงในBlogger ของตนเองในสัปดาห์นี้ โดยมีสื่อทั้งหมด 3ชิ้น คือ 1.สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ 
2.การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
3. สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

สื่อทั้ง 3 ชิ้น ของดิฉันมีทั้งหมด ดังนี้

    1.สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

นกในกรง




อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ดินสอและสี
3.ตะเกียบ
4.กาวสองหน้า


วิธีการทำ
1.เตรียมกระดาษแข็งที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้เด็กวาดรูปนกและรูปกรงนก พร้องราบยสี
2.นำกระดาษแข็งที่มีด้านหนึ่งเป็นรูปกรงนก และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปนก และมีด้ามจับเป็นไม้แข็งแรงให้เด็กใช้มือ ปั่นที่ด้ามไม้ มาติดกันโดยใช้กาวสองหน้า
3.ให้เด็กๆจับที่ด้ามตะเกียบและใช้มือปั่นเร็วๆ
ผลการทดลอง

         ภาพที่ปรากฏบนกระดาษแข็งจะกลายเป็น จากภาพสองมิติ เป็นภาพสามมิติทันที เนื่องจากเพราะว่าการปั่นจะทำให้สิ่งที่เราปั่นนั้นหมุนเร็วขึ้น สายตาที่มองไปยังภาพ เกิดการมองเห็นภาพสองมิติเป็นสามมิติ  เนื่องจากเลนส์สายตาปรับตามความเร็วจากสิ่งที่ปั่นไม่ทัน  จึงทำให้เกิดภาพซ้อน ทำให้มองเห็นเป็นภาพสามมิติ  ซึ่งคุณครูจะทำให้เด็กดู หรือว่าจะให้เด็กปฏิบัติเองก็ได้  หลังจากทำเสร็จแล้วก็ให้เด็กบอก ให้เด็กอธิบายสิ่งที่เด็กเห็น



2.การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



                  ลูกโป่งพลังดู
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม


วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ อีกครั้ง แล้วสังเกตผล

ผลการทดลอง
        เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
       เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล





3. สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์



 นักประดาน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
1.ปลอก (พลาสติก) ปากกาลูกลื่น
2.ขวดน้ำอัดลม พร้อมฝาปิด
3.ดินน้ำมัน
4.น้ำ
วิธีการทดลอง
1.เติมน้ำลงในขวดพลาสติกเกือบเต็ม
2.หุ้มปลายปลอกปากกาด้วยดินน้ำมัน ดังรูป
3.วางปลอกปากกาข้อ ลงในขวด แล้ว สังเกตว่าปลอกปากกาลอยและตั้งตรง หรือไม่ถ้าไม่ได้ ให้พยายามจัดใหม่โดย ปรับดินน้ำมัน แล้วปิดฝาขวดให้แน่น
4.บีบขวดซึ่งมีฝาปิดแน่น สังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้นลองคลายมือ สังเกตอีกครั้ง
ผลการทดลอง นักดำน้ำขึ้น - ลงจากผิวน้ำได้อย่างไร
             เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น




*หมายเหตุ*
         สื่อ นักประดาน้ำ นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ สัปดาห์ที่ 5