บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่ 6
วัน พุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (พุธเช้า)
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้
งานที่อาจาร์ยมอบหมาย
อาจาร์ยให้นักศึกษาโพส สื่อ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาคิดลงในBlogger ของตนเองในสัปดาห์นี้ โดยมีสื่อทั้งหมด 3ชิ้น คือ 1.สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
2.การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์
สื่อทั้ง 3 ชิ้น ของดิฉันมีทั้งหมด ดังนี้
1.สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
นกในกรง
1.กระดาษแข็ง
2.ดินสอและสี
3.ตะเกียบ
4.กาวสองหน้า
วิธีการทำ
1.เตรียมกระดาษแข็งที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้เด็กวาดรูปนกและรูปกรงนก พร้องราบยสี
2.นำกระดาษแข็งที่มีด้านหนึ่งเป็นรูปกรงนก และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปนก และมีด้ามจับเป็นไม้แข็งแรงให้เด็กใช้มือ ปั่นที่ด้ามไม้ มาติดกันโดยใช้กาวสองหน้า
3.ให้เด็กๆจับที่ด้ามตะเกียบและใช้มือปั่นเร็วๆ
ผลการทดลอง
ภาพที่ปรากฏบนกระดาษแข็งจะกลายเป็น จากภาพสองมิติ เป็นภาพสามมิติทันที เนื่องจากเพราะว่าการปั่นจะทำให้สิ่งที่เราปั่นนั้นหมุนเร็วขึ้น สายตาที่มองไปยังภาพ เกิดการมองเห็นภาพสองมิติเป็นสามมิติ เนื่องจากเลนส์สายตาปรับตามความเร็วจากสิ่งที่ปั่นไม่ทัน จึงทำให้เกิดภาพซ้อน ทำให้มองเห็นเป็นภาพสามมิติ ซึ่งคุณครูจะทำให้เด็กดู หรือว่าจะให้เด็กปฏิบัติเองก็ได้ หลังจากทำเสร็จแล้วก็ให้เด็กบอก ให้เด็กอธิบายสิ่งที่เด็กเห็น
2.การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ลูกโป่งพลังดู
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม
วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล
ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล
3. สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์
นักประดาน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
1.ปลอก (พลาสติก) ปากกาลูกลื่น
2.ขวดน้ำอัดลม พร้อมฝาปิด
3.ดินน้ำมัน
4.น้ำ
1.ปลอก (พลาสติก) ปากกาลูกลื่น
2.ขวดน้ำอัดลม พร้อมฝาปิด
3.ดินน้ำมัน
4.น้ำ
วิธีการทดลอง
1.เติมน้ำลงในขวดพลาสติกเกือบเต็ม
2.หุ้มปลายปลอกปากกาด้วยดินน้ำมัน ดังรูป
3.วางปลอกปากกาข้อ 2 ลงในขวด แล้ว สังเกตว่าปลอกปากกาลอยและตั้งตรง หรือไม่ถ้าไม่ได้ ให้พยายามจัดใหม่โดย ปรับดินน้ำมัน แล้วปิดฝาขวดให้แน่น
1.เติมน้ำลงในขวดพลาสติกเกือบเต็ม
2.หุ้มปลายปลอกปากกาด้วยดินน้ำมัน ดังรูป
3.วางปลอกปากกาข้อ 2 ลงในขวด แล้ว สังเกตว่าปลอกปากกาลอยและตั้งตรง หรือไม่ถ้าไม่ได้ ให้พยายามจัดใหม่โดย ปรับดินน้ำมัน แล้วปิดฝาขวดให้แน่น
4.บีบขวดซึ่งมีฝาปิดแน่น สังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้นลองคลายมือ สังเกตอีกครั้ง
ผลการทดลอง นักดำน้ำขึ้น - ลงจากผิวน้ำได้อย่างไร
เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น
เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น
*หมายเหตุ*
สื่อ นักประดาน้ำ นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ สัปดาห์ที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น